หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวินิจฉัยโรค SLE, การรักษาโรค SLE และข้อแนะนำเพื่อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรค SLE (โรค SLE ตอนที่ 3)

โรค SLE ตอนที่ 3 

การวินิจฉัยโรค SLE

การวินิจฉัยโรค SLE ของแพทย์ไม่ง่าย เนื่องจากอาการของโรคซับซ้อน ความรุนแรงของโรคในแต่ละคนไม่เท่ากัน และอาการแต่ละระบบก็มีความรุนแรงต่างกัน การวินิจฉัยของแพทย์จึงต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยที่ค่อยข้างละเอียด ร่วมกับผลการตรวจร่างกายพบผื่น ข้ออักเสบ ผื่นแพ้แสง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งแพทย์แต่ละคนอาจจะวินิจฉัยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแพทย์
 การวินิจฉัยผู้ป่วยโรค SLE ในปัจจุบันส่วนมากจะอิงตามเกณฑ์ของ American College of Rheumatology (ACR) ซึ่งเกณฑ์นี้ประกอบไปด้วยอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE ควรมีจำนวนข้อที่เข้าได้อย่างน้อย 4 ข้อ จากจำนวนทั้งหมด 11 ข้อ  เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในหลายระบบ เกณฑ์วินิจฉัยดังกล่าวมีความแม่นยำสุงถึง 96%

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE มีดังนี้

1. มีผื่นที่แก้ม
2. มีผื่น Discoid rash
3. เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
4. มีแผลในปาก
5. มีข้ออักเสบ พบข้อมีอาการปวด บวม แดง ร้อน มากกว่า 2 ข้อ
6. มีผื่นแพ้แสง
7. มีความผิดปกติทางโรคเลือด ได้แก่ โลหิตจางจาก Hemolytic anemia, หรือเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 4000/µl, หรือเซลล์ lymphopenia น้อยกว่า 1500/µl, หรือเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000/µl
8. ตรวจปัสสาวะพบโปรตีนหรือพบ cellular casts
9. ตรวจเลือดพบความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนี้ พบ Positive anti-Smith, anti-ds DNA, หรือantiphospholipid antibody
10. ตรวจพบ Antinuclear antibodies เป็น positive
11. มีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก อาการทางจิต
นอกเหนือจากเกณฑ์ของ American College of Rheumatology คนที่เป็นโรค SLE ยังอาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย
  • มีไข้เรื้อรัง (มากกว่า 100 ° F / 37.7 ° C)
  • มีอาการเมื่อยล้า, เหนื่อยง่าย, อ่อนเพลี่ย ไม่มีแรง
  • ผมร่วง
  • เมื่ออากาศเย็นนิ้วจะเปลี่ยนเป็นสีขาวและ / หรือสีฟ้า เป็นต้น
สำหรับเกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE พอให้ทราบคร่าวๆ ประมาณนี้ รายละเอียดขอให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินเพื่อทำการรักษาต่อไป  ตอนหน้าจะเป็น

การรักษาโรค SLE

คนที่เป็นโรค SLE จะเป็นๆ หายๆ มีช่วงที่อาการกำเริบและช่วงที่โรคสงบ ดังนั้นจึงมีการแบ่งการรักษาออกเป็น 2 ระยะ คือ การรักษาเพื่อให้โรคสงบ และการรักษาเพื่อป้องกันการกลับมาเกิดโรคซ้ำ
            หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นโรค SLE แล้ว แพทย์จะทำการรักษาตามอาการของการเกิดโรค โดยจะต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาขึ้นอยู่กับอาการกำเริบของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น แพทย์โรคข้อ(rheumatologist) แพทย์เชี่ยวชาญผิวหนัง(dermatologists) แพทย์เชี่ยวชาญโรคไต(nephrologists) แพทย์เชี่ยวโรคภูมิคุ้มกัน(immunologists) เป็นต้น
           การรักษาผู้ป่วย SLE ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนเนื่องจากแต่ละคนเจ็บป่วยไม่เหมือนกัน ยาที่แพทย์มักจะเลือกใช้คือ Steroid อาจเป็นยากิน ยาทาหรือยาฉีดขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผลข้างเคียงจากการใช้ยาในระยะสั้นได้แก่ เจริญอาหารมากขึ้น บวม สิวขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาหรือลดยาเองเพราะจะเกิดอันตราย  ซึ่งยานี้หากกินเป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงคือ กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้อกระจก ติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยที่ได้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ควรได้รับแคลเซี่ยมและวิตามินดีเสริมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน  และเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาในการรักษา แพทย์ผู้ทำการรักษาจะนัดเพิ่มติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
            เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค SLE ผู้ป่วยจะควรต้องร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะได้อยู่กับมันให้ได้ เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรค SLE ผู้ป่วยควรหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรค ต้องเรียนรู้สัญญาณเตือนภัย ต้องเข้าใจว่าโรค SLE นั้นถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้โรคสงบและอยู่ในระยะที่ควบคุมได้หากปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อควบคุมไม่ให้กำเริบอีก

ข้อแนะนำเพื่อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรค SLE


  1. ควรไปพบแพทย์ทุกครั้งที่นัด ผู้ป่วยต้องให้ความสำคัญต่อการติดตามการรักษาจากแพทย์เพื่อเฝ้าระวังโรคไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำ
  2. กินยาตามที่แพทย์แนะนำไม่เพิ่มหรือลดยาเอง และไม่ควรซื้อยากินเอง หรือใช้ยาอื่นนอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ หรือหากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้โรคกำเริบ เช่น
  • แสงแดด หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดช่วงเวลา 10 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา และการใช้ครีมกันแดดที่มี sun protective factor (SPF) สูง ๆ อย่างน้อย SPF 30 ทุกวันไม่ว่าจะออกกลางแจ้งหรือไม่ และควรทาอย่างน้อย 30 นาที ก่อนออกกลางแจ้ง ควรสวมหมวกและเสื้อแขนยาวหากออกแดดจัดมากก เพราะแสงแดดนอกจากจะทำให้เกิดผื่นตามผิวหนังที่สัมผัสแสงแดดแล้ว ตัวโรค SLE มักมีความไวต่อแสงแดด เมื่อถูกกระตุ้นทำให้เกิดการกำเริบได้ง่าย นอกจากนี้แล้วแสงแดดยังสามารถกระตุ้นความรุนแรงโดยทั่วไปของโรคอีกด้วย     
  • ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การขาดการพักผ่อนอาจจะทำให้โรคกำเริบได้
  • ป้องกัน การติดเชื้อ ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ควรรับประทานอาหาร, น้ำที่สุกสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อของทางเดินอาหาร, หลีกเลี่ยงที่ชุมชนแออัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อของทางเดินหายใจ เป็นต้น
  • กินยาให้สม่ำเสมอ การขาดยาหรือหยุดยาเองโดยที่แพทย์ยังไม่อนุญาตอาจจะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้
  • ความเครียดมีส่วนทำให้โรคกำเริบได้ ควรหาวิธีหลีกเลี่ยงความเครียด
  • หยุดสูบบุหรี่  กินเหล้า
  4. โรคแทรกซ้อนของโรค SLE มีทั้งที่เกิดจากตัวโรคเอง เช่น ไตวาย ซีด เกล็ดเลือดต่ำ โรคทางระบบประสาท และโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากยากดภูมิ เช่น การติดเชื้อฉวยโอกาศ เช่น วัณโรค โรคพยาธิ์ เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนและลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันในอนาคต ควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง

สรุป

แม้ว่าอาการของโรค SLE จะมีมากและผลข้างเคียงของยาจะมีมากแต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากเรียนรู้ถึงสัญญาณเตือนของการกำเริบของโรค และสามารถรู้ถึงวิธีป้องกันโรค ผู้ป่วยควรไดัรับการตรวจจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มสงสัยว่าเริ่มมีอาการไม่ควรปล่อยไว้นานเนื่องจากการรักษาแต่เริ่มแรกจะทำให้การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเป็นหนักมากแล้ว

     ผู้ป่วย SLE ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเช่น การตรวจเต้านม การตรวจภายใน การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฉีดวัคซีน ผู้ป่วยที่รับประทานยา คลอโรควีนหรือยารักษามาลาเรียควรได้รับการตรวจตาทุกปี
     ตอนต่อไปจะเป็นกรณีศึกษาจากผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE จะมาให้ความรู้กับท่านเพิ่มเติมและความรู้สึกที่มีต่อโรค รอติดตามในโรค SLE ตอนที่ 4 กรณีศึกษาโรค SLE เร็วๆ นี้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น